ในรายงานเรื่อง A Thai Billionaire Is Set to Reclaim a Lost Flagship Business. There May Be a Catch ของ Bloomberg ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 ซึ่งโฟกัสที่รายได้ของเครือเจริญโภคภัณฑ์หลังซื้อกิจการเทสโก้โลตัส ทำให้เราเห็นภาพรายได้ของบริษัทยักษ์ใหญ่ 12 อันดับแรกของประเทศไทย

โดยซีพีออล์และซีพีเอฟขึ้นแท่นเป็นบริษัทที่มียอดขายสูงสุด อันดับ 1 และ 2 สยามแมคโคร อันดับ 8 และเทสโก้โลตัสอยู่ในอันดับ 10

ส่วน 8 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เหลือเกี่ยวข้องกับกิจการวัสดุก่อสร้าง พลังงาน/ปิโตรเลียม ธนาคาร เครื่องดื่ม ค้าปลีก และการบิน ตามแผนภาพ

ตลอดช่วงรัฐบาลคสช. และรัฐบาลผสมที่มีพรรคพลังประชารัฐของคสช.เป็นแกนนำ ผู้บริหารของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านต่างๆ ล่าสุดบทวิเคราะห์ของ FTA Watch เกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เรียกว่า BCG (ยุทธศาสตร์และโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว) ก็ปรากฎตัวแทนของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ เข้าไปมีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในหลายๆคณะ

CorpWatch จะติดตามบทบาทและความโปร่งใสของบรรษัทเหล่านี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ (และที่นอกเหนือจากในภาพ) ที่กำลังผลักผลักดันนโยบายในทิศทางที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม หรือสร้างความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ